วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เร่นกีต้าร์เสียงบอด


หลายคนที่ฝึกเล่นกีต้าร์ใหม่ๆอาจจะหงุดหงิดกับอาการเสียงบอดเวลาเล่นกีต้าร์นะครับ ไม่ว่าจะตีคอร์ด หรือ เกากีต้าร์ก็เกิดอาการนี้ได้เหมือนกัน ทำเอาหลายคนท้อ และเลิกฝึกไปเลยก็มี สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ก็อย่าเพิ่งท้อใจไปนะครับ เพราะ นักดนตรีทุกคนไม่ว่าจะเล่นโปรแค่ไหน ก็ต้องเจออาการเสียงบอดมาแล้วทั้งนั้น เอาล่ะครับ ไม่อยากพูดพล่ามทำเพลง เราลองมาดูกันซิว่าสาเหตุของ อาการเสียงบอดเกิดจากอะไรได้บ้าง
1) การกดสายไม่สนิท อันนี้ก็คงต้องออกแรงในการกดมากขึ้น แต่ก็ไม่ต้องถึงกับแรงมากนะครับ เดี๋ยวจะปวดนิ้วไปกันใหญ่ เพราะโดยปกติคนที่เริ่มเล่นกีต้าร์ในระยะแรกๆก็ต้องประสบกับอาการปวดนิ้ว เป็นอุปสรรคแรกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปจะสามารถปรับตัวได้เอง โดยเล่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น และไม่เกร็งนิ้ว+นิ้วด้าน อาการปวดนิ้วก็จะหายไปครับ
2) การกดสายทับเฟรท ที่ถูกต้องแล้วในการกดคอร์ดจะต้องกดสายหลังเฟรทสักนิดนึง ถ้ากดนิ้วลงบนเฟรทพอดี จะทำให้เสียงบอดได้ครับ
3) การวางนิ้วไม่ได้รูป การวางนิ้วในการจับคอร์ดที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีเพียงปลายนิ้วเท่านั้นที่สัมผัสกับ ฟิงเกอร์บอร์ด (ยกเว้นกรณีคอร์ดทาบ) หากวางนิ้วแบนจนเกินไปจะทำให้นิ้วที่กดเฟรทที่สายนึงอยู่พาดไปโดน สายอื่น ก็เกิดอาการเสียงบอดได้เช่นกัน อันนี้ก็ต้องพยายามสังเกตุตัวเองเวลาจับคอร์ดนะครับ รูปนิ้วก็จะเป็นลักษณะ ตั้งฉากสักหน่อยเพื่อให้ส่วนที่กดสายเป็นเพียงปลายนิ้วเท่านั้น
เอาละครับพอจะทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียงบอดกันไปแล้ว ลองสังเกตุตัวเองเวลาเล่นและพยายาม ฝึกฝนต่อไปนะครับ รับรองว่าเพื่อนๆคงไม่ต้องหงุดหงิดกับอาการเสียงบอดอีกต่อไปครับ

การเร่นกีต้าร์ส่วนเสริม


**การจำคอร์ด***
 สมัยก่อนตอนผมเริ่มเล่นกีต้ารใหม่ๆ ผมเคยถามเพื่อนที่เล่นมาว่าคอร์ด มันมีกีคอร์ด
เพื่อนมันตอบว่ามีเป็นร้อยๆคอร์ด นึกในใจแล้วเมื่อไรกูจะจำคอร์ดได้หมดว่ะเนียะ
ต่อมาเมื่อเริ่มศึกษาจริงจัง ก็ได้อีกคำตอบจากหนังสื่อทั่งไทยและต่างประเทศมัน
บอกว่าคอร์ดทั้งหมดมีเป็น1000คอร์ดโอ้ว.....ท้อเลย แต่ก็มารู้ที่หลังอีกว่า
ในความเป็นจริงๆคอร์ดที่เราๆท่านๆใช้กันเคยนับไหมว่าจริงๆแล้วเราใช้ไม่น่าจะเกิน30คอร์ด
มันมีไม่กี่รูปแบบ ซึ่งถ้าใครจำรูปแบบได้ ก็ไม่ยากเลย บางคนใช้เวลา3เดือนจำคอร์ดได้หมดเลย
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ตอนเริ่มเล่นกีต้าร์ใหม่ๆผมก็ใช้วิธีจำรูปแบบของมัน
ถ้าจะทำเราต้องรู้จักวิธีการของมัน 2   ข้อคือ
1.ใช้ความจำอย่างเดียว
2.ไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งนั้น
อย่างแรก เราต้องท่องจำ ชื่อตัวโน้ตบนคอกีต้าร์ก่อน
ที่ตัวอย่างผมทำไว้แค่2สายคือRoot สาย 5 กับ Root สาย 6
(Root ก็คือตัวชื่อคอร์ดนั้นเอง)



ให้จำแค่ 8 เฟร็ท แค่นี้ก็พอ 
เริ่มต้นให้ ฝึกท่องโน้ตในสาย6

 ดีดสายเปล่า ท่องว่า "E" กดช่อง1 ท่องว่า"F" ช่อง2 "F#"(เครื่องหมาย# อ่านว่าชาร์ป)
ช่อง3 "G"   >4 "G#" > 5 "A" > 6 "A#"  > 7 "B"  > 8 "C" (ดูรูปตัวอย่าง)
 และก็จำถอยหลังบ้าง 8< "C"  7<"B"   6<"Bb"   5<"A"   4<"Ab"   3<"G"   2<"Gb"   1<"F"   0<"E"
*Bb(บีแฟล็ต b แฟล็ตอย่าอ่านว่าคอร์ดบีบีนะ^ ^) 
พวกF#/Gb, G#/Ab  ตรงนี้เขาเรียกว่า Enharmonic note ตำแหน่งเดียวแต่สามารถเรียกได้2ชื่อ
เวลาฝึกไล่ขึ้นจำชาร์ป ไล่ลงจำแฟล็ต (จะใช้คอร์ดทาง # หรือ b ขึ้นอยู่กับคีย์ด้วย)
จากนั้นจำแบบเดียวกันในสาย 5 ท่องจำให้ขึ้นใจนะครับ
ถ้าเราท่องตำแหน่งได้จนขึ้นใจแล้ว ก็ลองมาจำรูปแบบคอร์ดบ้าง

จับรูปเต็มของรูป Root สาย6 (เมเจอร์คอร์ด)
           
รูปคอร์ดเมเจอร์ปกติ เช่น F  แต่ถ้าเรายกนิ้วกลางออกในสาย3 จะกลายเป็นคอร์ดไมเนอร์ เช่นFm   

                    
ถ้าเรายกนิ้วก้อยออก มันคือคอร์ดเซเว่น เช่น F7  ถ้าเรายกทั้งนิ้วกลางและนิ้วก้อยล่ะมันคือคอร์ดอะไร?.
ตอบ คือคอร์ด ไมเนอร์เซเว่น เช่น Fm7
สรุปรูป Root สาย6 กดรูปเต็ม แล้วเมื่อยกนิ้วกลางออกคือ ไมเนอร์ ยกนิ้วก้อยออกคือเซเว้น ยกนิ้วกลางและ
ก้อยก็คือไมเนอร์เซเว่น
ส่วนคอร์ด E ก็คือรูปแบบคอร์ด  F ที่นิ้วชี้หลุดออกไปจาก จาก nut กีต้าร์
 ถ้าพอจำได้แล้ว ลองกลับไปที่ตัวโน้ตบนคอกีต้าร์บ้าง จากที่เราจำมาแล้ว ช่องที่1มันคือคอร์ด F
เราลองเลื่อนตำแหน่งมาที่ ช่องที่ 5 ดู ช่องที่ 5 คือ A กดเหมือนกัน เมื่อเรายก นิ้วกลางออก มันก็คือคอร์ด Am
ยกนิ้วก้อยออกก็คือ A7 ถ้าเปลียนมาช่องที่ 3 คือ G ถ้า เรายกนิ้วก้อยออกมันก็คือคอร์ด G7 
  ถ้าเราจำได้ 8ช่อง+สายเปล่าบนคอกีต้าร์กับ 4 รูปแบบคอร์ด เราจำได้แล้ว 48 คอร์ด
สำหรับคนที่เริ่มเล่นกีต้าร์ใหม่ๆ และ อันนี้เป็นวิธีจำคอร์ดที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งครับ 
ดีกว่าจำเป็นคอร์ดๆ เพราะบางคอร์ดนานๆเจอที มันจะจำได้น้อยกว่าแถมหนักกว่าอีก
และเมื่อจำได้แล้วความเข้าใจก็จะตามมาเอง

ตอนนี้มาดูรูปแบบ Root สาย 5บ้าง
รูป สาย 5 นี้อาจต้องจำเยอะหน่อย

 
รูปแรกคือรูป เมเจอร์ เช่น Bb   : รูปที่ 2 คือ ไมเนอร์ เช่น Bbm
รูปเมเจอร์ค่อนข้างกดยากนิดนึง นิ้วชี้พาดสาย1-5 โดยที่ให้นิ้วปลายชี้ไปดุนสาย 6 ให้บอด ส่วนนิ้ว
กลางอยู้สาย4 นางอยู่3 ก้อยอยู่2 บางคนที่ชำนาญหน่อยก็ใช้นิ้วนางพาดสาย4-3-2

  
ในรูปของBbยกนิ้วนางออกเป็นรูปเซเว่น เช่น Bb7  : รูปไมเนอร์ยกนิ้วก้อยออกเป็นไมเนอร์เซเว่น เช่น Bbm7

   

 ในรูปBb7เลือนนิ้วก้อยมาอีก1ช่อง เป็นรูป  Bb7sus4 : รูปBb ยกนิ้วก้อยออกเป็น แอดไนน์ เช่น Bbadd9
ในตัวอย่างกดอยู่ที่ช่องที่1 โน้ตตัว Bb ถ้าเราเลื่อนสูงไป 1ช่อง ก็จะเป็น คอร์ด B จากช่อง1เลื่อนไปช่องที่4
ก็จะเป็นคอร์ด C#  ช่อง 5ก็เป็น D

  รูปเมเจอร์เซเว่น เช่น Bbmaj7 เลื่อนไปก็จะเป็นคอร์ดตามโน้ต 
 ยังมีรูปRootสาย4อีก ยากกว่านี้นิดนึง เอาแค่รูปRoot สาย5 ก็พอก่อนเดียวจะจำเยอะไป แต่5กับ6
ถ้าจำได้เราก็ได้คอร์ด120 คอร์ดแล้ว(เคยเห็นโปสเตอร์ตารางคอร์ดที่เขาขายแผ่น15-20ไหมครับ
ใครที่ซื้อมาลองดูมันก็เป็นแบบที่ผมเขียนมาทั้งหมดเลย เพียงแต่เรารูปหลักการมัน) ทั้งหมด 
ลองจำดูนะครับ ถ้าเราจำได้ เราจะไม่เสียเวลาตามหาคอร์ดอีกเลย รูปอื่นเดียวค่อยว่ากันอีกที

การเร่นกีต้าร์ตีคอร์ดเเบบหนึ่ง



**เราเริ่มต้นเรามารู้จักกีต้าร์โปร่งกันก่อน **

  กีต้าร์โปร่งทั่วไปที่เราเห็น จะมี2แบบ
                                        
• Folk Guitar •(Steel String)                       • Classic Guitar •(Nylon String)
ชื่อเรียกในส่วนต่างๆ 
1.Tunig Keys
2.Nut
3.Frets
4.Fingerboad
5.Face
6.Rosette
7.Soundhole
8.Bridge base
9.Bridge bone
10.Pickguard

ในส่วนของสายกีต้าร์ ประกอบด้วย สาย Treble สามสาย1,2,3,และBass 4,5,6








นิ้วมือและชื่อที่ใช้เรียกมือแต่ล่ะข้าง
นิ้วมือด้านซ้าย                                      นิ้วมือด้านขวา
 เลข1 = นิ้วชี้                                      นิ้ว p = นิ้วหัวแม่มือ
 เลข2 = นิ้วกลาง                                นิ้ว i = นิ้วชี้
 เลข3 = นิ้วนาง                                  นิ้ว m = นิ้วกลาง
 เลข4 = นิ้วก้อย                                 นิ้ว a = นิ้วนาง
 เลข0  จะหมายถึงสายเปล่าไม่กดอะไร

**พอเริ่มรู้เกี่ยวกับกีต้าร์และชื่อนิ้วต่าง ตอนนี้ลองมาทำความรู้จักกับ ค่าของตัวโน้ตบ้าง**

ลักษณตัวโน้ต

 โน้ตตัวกลม (Whole note)  จะมีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 4 จังหวะ
     โน้ตตัวขาว (Half note)     "-------------------------------"  2 จังหวะ
   โน้ตตัวดำ (Quarter note)  "-------------------------------" 1 จังหวะ
   โน้ตเขบ็ต 1ชั้น (Eight note) "-----------------------------" ½ จังหวะ

การเคาะจังหวะ
ความยาวของค่าโน้ตแต่ล่ะตัว จะเกี่ยวกับความยาวของเสียงโน้ตในตัวนั้นๆ
การเคาะจังหวะให้เคาะเท่าลง และยกเท่าขึ้น จะเท่ากับ1จังหวะ เป็นโน้ตตัวดำ
ถ้า2จังหวะ ก็จะเคาะ เท้าและยกขึ้น 2ครั้ง เป็นโน้ตตัวขาว
ถ้าตัว4จังหวะเป็นโน้ตตัวกลม ก็จะเคาะเท้าและยกขึ้น4ครั้ง
ตัวอย่าง
การเคาะ ในโน้ตตัว ดำ 1จังหวะ
การเคาะในโน้ตตัวขาว 2จังหวะ
 การเคาะในโน้ตตัวกลม 4จังหวะ

และเมื่อรู้เรื่องค่าโน้ตแล้ว ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับ ห้องของเพลง
และเครื่องหมายกำหนดจังหวะกับบ้าง

 เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
 ในเพลงแต่ละเพลงจะแบ่งเป็นห้อง (Measures หรือ Bar)
และ Time signature จะเป็นตัวกำหนดว่าภายในห้องของมัน เราจะต้องเคาะกี่จังหวะ
ตัวอย่าง Time signature ที่พบโดยทั่วไป
 4/4     หรือ  C      ในหนึ่งห้องมีอยู่4จังหวะ (เคาะเท้า 4ครั้ง)
3/4           ในหนึ่งห้องมีอยู่3จังหวะ เคาะเท้า 3ครั้ง
 2/4          ในหนึ่งห้องมีอยู่2จังหวะ (เคาะเท้า 2ครั้ง)

นอกจากนี้ยังมี  2/2  3/8  6/8 9/8 12/8  ......
สำหรับคนที่สงสัยพวก  6/8 9/8 12/8    คือให้เราสนใจแค่ตัวแรกอย่างเดียวก็พอ
ตัวแรก เลข 6 ก็คือ ในหนึ่งห้องเราจะ นับ(เคาะ) 6จังหวะ 1-2-3-4-5-6 หนึ่งห้องก็มี6จังหวะนั้นเอง
"______"  9 "_____________________"  9 จังหวะ 1-2-3-4-5-6-7-8-9
12/8 ก็มี 12จังหวะ ส่วนพวก 2/2  หนึ่งห้องมี2จังหวะ  3/8 หนึ่งห้องมี3จังหวะ
       
**ถ้าใครได้อ่านลองทำความเข้าใจดูนะครับเพราะมันเป็นพืนฐานที่สำคัญก่อนที่จะเริ่มเล่นกีต้าร์

การเล่นเพลงสติง


คอร์ดเพลง เธอ - COCKTAIL

  D                                  E
อยู่ไกลจนสุดสายตา ไม่อาจเห็นว่าเราใกล้กัน
          C#m                                  F#m
และทุกครั้งหัวใจฉันยังคงไหวหวั่นกับความทรงจำ
            D                                 E
นึกถึงครั้งแรกเราพบกัน เธอและฉันไม่เคยต้องไกล
         C#m                                   F#m
ในวันนี้ฉันต้องเผชิญความไหวสั่นอยู่ภายในใจ
         D                               E
กลัวการที่เราไกลกัน กลัวว่าใจจะเปลี่ยนฝัน...ไป

Intro : | A E/G# | F#m E | ( 2 Times )

A      E/G#                F#m        E       D          C#m          Bm         E
ฝน...พรำ เปรียบเหมือนครั้งฉันพบเธอ แววตาของเธอยังคงติดตรึงในใจไม่ลืม
A      E/G#       F#m       E                D         C#m         Bm     E   A
รัก...เรา ยังไม่เก่าลงใช่ไหมหรือกาลเวลา หมุนไป เปลี่ยนใจเธอเป็นอีกดวง

      A E/G# F#m                 E              D                  C#m             Bm           E
* เธอ... ---------เธอยังคิดถึงฉันไหม เมื่อสองเรานั้นยังคงห่างไกล เมื่อเวลาพาเราให้ไกลกัน
A     E/G#    F#m         E                D               C#m          Bm             E
รู้...บ้างไหม คนไกลยังคงหวั่นไหว เมื่อเขามองดูภาพเธอทีไร น้ำตามันยังไหล...ออกมา

Instru : | F#m E | D | F#m E | E |

  A                          E/G#-  F#m           E
 หยาดน้ำค้างในยามเช้า กับลมหนาวจับใจ
                     D                    C#m     Bm       E  A
--สายลมโชยอ่อน พัดพาความรักฉันไป ส่งถึงใจเธอที

( ซ้ำ * )

F#m              E/G#                       D                 A
 กาลเวลาอาจทำให้ใจคนเราเปลี่ยนผันในวันต้องไกล
              F#m            E/G#       D   E
แต่ฉันยังคงมีแต่เธออยู่ในหัวใจเสมอ

Instru : | C G/B | Am G D/F# | Em D | C D | G D/F# | Em D | C | D E |

( ซ้ำ * )

Instrue : | A E/G# | F#m E | D | A E/G# | F#m E | D |

D                   C#m            Bm             E
เมื่อเขามองดูภาพเธอทีไร น้ำตามันยังไหล...

การตีคอร์ดเบื้องต้น

ถ้าพูดถึงการเล่นกีต้าร์การตีคอร์ดคงเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญและเป็นปราการด่านยักษ์สำหรับนักกีต้าร์มือใหม่
ที่ทำเอาหลายๆคนท้อและเลิกเล่นไป เพราะตีคอร์ดไม่เป็น ไม่รู้จะตีคอร์ดยังไง 

การตีคอร์ดนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แล้วแต่เพลงที่นำมาเล่น เพลงเดียวกันอาจตีคอร์ดคนละแบบก็ได้ซึ่งก็แล้วแต่สไตล์การเล่นของแต่ละคน 

ในที่นี้ผมจะแนะนำการตีจังหวะหรือว่าแพทเทิลแบบพื้นฐานที่นิยมเล่นกันเหมาะสำหรับมือใหม่โดยจะไม่เน้นทฤษฎี
เพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุดลองดูคลิปตัวอย่างแล้วตีจังหวะตามเลยครับ




แพทเทิลแบบแรก    ลง ลงขึ้น ขึ้นลง 
                              ↓      ↓            ↓         

แพทเทิลแบบที่ 2       ลง ลง_ขึ้นลง  
                                           ↓     ↓        ↑     





................................................................................................................................





แพทเทิลแบบที่ 3      ลง_ลง   ลงขึ้น  ขึ้นลง  ลง                         
                                          ↓     ↓                        ↓      ↓ 






................................................................................................................................


                                                  
แพทเทิลแบบที่ 4 ลง  ลงขึ้น  ขึ้นลง_ขึ้นลง  ลง 
                       ↓      ↓              ↓           ↓        ↓   
                      





................................................................................................................................





แพทเทิลแบบที่ 5       ลง  ลงขึ้น ลง
                                         ↓       ↓          ↓ 





เอาคร่าวๆเฉพาะแพทเทิลทั่วไป ไปลองฝึกกันดูก่อนนะครับ

ส่วนแพทเทิลแบบอื่นนั้นหากมีโอกาสผมจะหามาให้ลองฝึกกันอีกครับ

เทคนิคการเล่นกีต้าร์พื้นฐาน


 เทคนิคการเล่นกีต้าร์พื้นฐาน ::
การรูดสาย (Sliding)
การรูดสาย หรือที่เรียกว่าการรูดนิ้ว หรือการเลื่อนนิ้ว หรือการสไลด์ แทนด้วยสัญลักษณ์ ที่เป็นลูกศรชี้ดังภาพ เมื่อสัญลักษณ์นี้ไปต่อท้ายโน้ตตัวใดก็แสดงว่าคุณต้องรูดนิ้วไปยังโน้ตตัวถัดไป ดังนั้นการเล่นตาม TAB 1A ก็คือ
1. กดนิ้วโน้ตตัวแรกก็คือ เฟร็ตที่ 2 สาย 3
2. ดีดสาย ในขณะที่สายกำลังสั่นก็ใช้นิ้วมือซ้ายที่กดสายนิ้วเดิมเลื่อนไปยังโน้ตตัวต่อไป ตามภาพที่ 1 คือ เฟร็ตที่ 4 สาย 3
เทคนิคอันนี้เป็นลูกเล่นเบสิคที่ง่ายที่สุด แต่ก็ใช้กันมากที่สุด ในการฝึกขั้นสุดท้ายคุณอาจใช้เทคนิคนี้เชื่อมระหว่างกลางในการเล่นจากโน้ตหนึ่งไปหาอีกโน้ตหนึ่งทั่วไปบนคอกีต้าร์
การดันสาย (Bend)
อันนี้ก็เป็นการเล่นง่ายๆหรือเป็นลูกเล่นเบสิคซึ่งคุณควรจะรู้ดี เพราะเทคนิคขั้นต่อไปต้องอาศัยมันมากทีเดียว สัญลักษณ์ที่เป็นลูกศรหยักดังภาพ แทนการดันสาย โน๊ตที่ต่อด้วยสัญลักษณ์นี้ต้องถูกดันสาย
อธิบายการเล่นตาม TAB 2A
1. กดนิ้วเฟร็ตที่ 7 สาย 3
2. ดีดสาย และพร้อมๆกันนั้นก็ดันสายขึ้นไปตามภาพ 2A , 2B
3. โน๊ตซึ่งแทนด้วยเลข 9 (ไม่มีรูปทรงเลขาคณิตรอบตัวเลข) แสดงว่าคุณต้องทำเสียงนั้นโดยการดันสายให้ถึงเสียงนั้นโดยที่คุณไม่ต้องกดนิ้วโน้ตตัวนั้น
4. สัญลักษณ์ แทนการนำสายกลับคืนตำแหน่งเดิม นั่นคือจะได้ยินเสียงโน้ตนี้โดยไม่ต้องดีดสาย (เสียงโน๊ตเฟร็ตที่ 7 สาย 3 หลังสัญลักษณ์นี้จะดังโดยไม่ต้องดีด) ดังภาพ 2C
หมายเหตุ อย่าลืมว่าโน้ตที่มีการดีดสายจะแสดงด้วยตัวอักษร p ข้างใต้ด้วยเสมอ


การเล่นหางเสียง (Hammer On)
ลูกเล่นหรือกลเม็ดง่ายๆอย่างหนึ่งที่จะต้องเรียนรู้ก่อนเพื่อจะได้เอาไว้ใช้ในการเล่นเทคนิคที่ยากขึ้นไป สัญลักษณ์ ที่เป็นลูกศรโค้งดังภาพ แทนการเล่นหางเสียง ไม่ต้องดีดโน้ตที่ตามหลังสัญลักษณ์นี้ เสียงโน้ตจะเกิดจากการเคลื่อนนิ้วมือคุณบนสายกีต้าร์ ลูกเล่นหรือเทคนิคนี้ถูกใช้บ่อยในการโซโล่และการสบัดนิ้ว
อธิบายการเล่นตาม TAB 3A
1. กดนิ้วโน้ตตัวแรกที่เฟร็ตที่ 5 สาย 3
2. ดีดสายและปล่อยให้สายสั่นอยู่ชั่วขณะ
3. ตบนิ้วซึ่งบอกไว้ (ในที่นี้รูปสี่เหลี่ยมรอบเลข 7 หมายถึงนิ้วนาง) ลงบนสายอย่างแรงและรวดเร็วให้เกิดเสียงโน้ตต่อไปคือเฟร็ตที่ 7 สาย 3 ตามภาพที่ 3

การเล่นยกนิ้ว (Pull Off)
การยกนิ้วนี้ก็คล้ายๆ กับเป็นการเล่นหางเสียงแบบหนึ่ง แต่ตรงกันข้ามกับการเล่นแบบที่กล่าวมาแล้ว คือ หางเสียงแทนที่จะมีเสียงสูงขึ้นกลับมีเสียงต่ำลง เพราะการปฏิบัติเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม
สัญลักษณ์ ที่เป็นลูกศรโค้งดังภาพ แทนการเล่นยกนิ้ว ไม่ต้องดีดโน้ตที่ตามหลังสัญลักษณ์นี้ เสียงโน้ตจะเกิดจากการยกนิ้วเคลื่อนออกจากสายกีต้าร์
อธิบายการเล่นตาม TAB 4A
1. กดนิ้วโน๊ตตัวแรกที่เฟร็ตที่ 7 สาย 3 และโน้ตตัวที่สองที่เฟร็ตที่ 5สาย 3 ด้วย โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ ตามภาพที่ 4
2. ดีดสายให้สายสั่นอยู่ชั่วขณะ นิ้วของคุณต้องกดโน้ตตัวที่สองไว้ก่อนที่จะปล่อยนิ้วโน้ตตัวแรก
3. ยกนิ้วที่จับโน้ตตัวแรกขึ้นพ้นจากสายอย่างแรงและรวดเร็ว จนเกิดเสียงโน้ตตัวที่สอง (โดยไม่มีการดีด) ที่เฟร็ตที่ 5 สาย
เทคนิคอันนี้ถูกใช้บ่อยมากในการโซโล่

การสะบัดนิ้ว
การสะบัดนิ้ว คือการนำเอาเทคนิคในการเล่นหางเสียงและยกนิ้วมารวมกัน โดยการเล่นยกนิ้วและเล่นหางเสียงกลับไปกลับมาระหว่างตัวโน๊ตสองตัว
อธิบายการเล่นตาม TAB 5A
1. กดนิ้วที่เฟร็ตที่ 5 และ 7 ไปในขณะเดียวกัน ดีดโน้ตตัวแรกที่เฟร็ตที่ 7 สาย 3 ให้สายสั่น
2. ยกนิ้วและในขณะที่มีเสียงโน๊ตตัวที่สองดังขึ้นคือเสียงที่เฟร็ตที่ 5 สาย 3 ก็ให้กดนิ้วทำหางเสียงโน๊ตตัวที่สามที่เฟร็ตที่ 7 สาย 3 อีก
3. ปฏิบัติต่อไประหว่างตัวโน๊ตสองตัวนี้ ยิ่งทำได้เร็วก็จะทำให้ลูกเล่นนี้มีเสียงเด่นชัดขึ้นเทคนิคนี้ใช้มากในการโซโล่และลูกสอด

การกลิ้งนิ้ว
การกลิ้งนิ้วเป็นเสียงของตัวโน๊ต 3 ตัว การเล่นแบบนี้เป็นการไล่โน้ตไปมาจากตัวโน๊ตหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งอย่างนิ่มนวล การเล่นกลิ้งนิ้วจะได้เสียงน่าฟังที่สุดถ้าเล่นช้าๆ ติดๆ กัน
อธิบายการเล่น TAB 6A
1. ดีดสายในเวลาเดียวกันเล่นหางเสียงโน้ตตัวแรก เฟร็ตที่ 5 สาย 3 ตามภาพที่ 5A (อ่านหมายเหตุ)
2. เล่นยกนิ้วจากเฟร็ตที่ 5 สาย 3 และในเวลาเดียวกันเล่นหางเสียงเฟร็ตที่ 2 สาย 3 ตามภาพที่ 5B
3. เล่นยกนิ้วไปยังโน้ตตัวที่สาม ซึ่งเป็นเสียงสายเปล่า สาย 3 ตามภาพที่ 5C
4. เล่นซ้ำขั้นตอนจากข้อ 1-3 เพิ่มความเร็วจนเสียงโน้ตรัวติดๆ กัน
หมายเหตุ โน๊ตตัวแรกของการเล่นกลิ้งนิ้วนี้เท่านั้นที่จะถูกดีด เสียงโน้ตตัวอื่นๆ เกิดจากการเล่นหางเสียง (Hammer On) และ ยกนิ้ว (Pull Off)

การเล่นหางเสียง


การเล่นหางเสียง (Hammer On)
ลูกเล่นหรือกลเม็ดง่ายๆอย่างหนึ่งที่จะต้องเรียนรู้ก่อนเพื่อจะได้เอาไว้ใช้ในการเล่นเทคนิคที่ยากขึ้นไป สัญลักษณ์ ที่เป็นลูกศรโค้งดังภาพ แทนการเล่นหางเสียง ไม่ต้องดีดโน้ตที่ตามหลังสัญลักษณ์นี้ เสียงโน้ตจะเกิดจากการเคลื่อนนิ้วมือคุณบนสายกีต้าร์ ลูกเล่นหรือเทคนิคนี้ถูกใช้บ่อยในการโซโล่และการสบัดนิ้ว
อธิบายการเล่นตาม TAB 3A
1. กดนิ้วโน้ตตัวแรกที่เฟร็ตที่ 5 สาย 3
2. ดีดสายและปล่อยให้สายสั่นอยู่ชั่วขณะ
3. ตบนิ้วซึ่งบอกไว้ (ในที่นี้รูปสี่เหลี่ยมรอบเลข 7 หมายถึงนิ้วนาง) ลงบนสายอย่างแรงและรวดเร็วให้เกิดเสียงโน้ตต่อไปคือเฟร็ตที่ 7 สาย 3 ตามภาพที่ 3

การดันสาย


การดันสาย (Bend)
อันนี้ก็เป็นการเล่นง่ายๆหรือเป็นลูกเล่นเบสิคซึ่งคุณควรจะรู้ดี เพราะเทคนิคขั้นต่อไปต้องอาศัยมันมากทีเดียว สัญลักษณ์ที่เป็นลูกศรหยักดังภาพ แทนการดันสาย โน๊ตที่ต่อด้วยสัญลักษณ์นี้ต้องถูกดันสาย
อธิบายการเล่นตาม TAB 2A
1. กดนิ้วเฟร็ตที่ 7 สาย 3
2. ดีดสาย และพร้อมๆกันนั้นก็ดันสายขึ้นไปตามภาพ 2A , 2B
3. โน๊ตซึ่งแทนด้วยเลข 9 (ไม่มีรูปทรงเลขาคณิตรอบตัวเลข) แสดงว่าคุณต้องทำเสียงนั้นโดยการดันสายให้ถึงเสียงนั้นโดยที่คุณไม่ต้องกดนิ้วโน้ตตัวนั้น
4. สัญลักษณ์ แทนการนำสายกลับคืนตำแหน่งเดิม นั่นคือจะได้ยินเสียงโน้ตนี้โดยไม่ต้องดีดสาย (เสียงโน๊ตเฟร็ตที่ 7 สาย 3 หลังสัญลักษณ์นี้จะดังโดยไม่ต้องดีด) ดังภาพ 2C
หมายเหตุ อย่าลืมว่าโน้ตที่มีการดีดสายจะแสดงด้วยตัวอักษร p ข้างใต้ด้วยเสมอ


การตั้งสายกีต้าร์


การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก

การตั้งสายกีต้าร์

      การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลื่องในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )
      การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )
      การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

การตั้งสายกีต้าร์